นับเป็นวันมหามงคลอย่างยิ่งสำหรับพุทธศาสนิกชนชาวไทย เมื่อวันคล้ายวันประสูติของ “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อัมพโร)” องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จะเวียนมาบรรจบอีกครั้ง ครบรอบ 96 ปีในวันที่ 26 มิถุนายนนี้
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามเดิมว่า “อัมพร ประสัตถพงศ์” ฉายา อมฺพโร ได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ลำดับที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560
เปิดลงนามถวายสักการะ “สมเด็จพระสังฆราช” แทนการเข้าเฝ้า ในวันคล้ายวันประสูติ
“สมเด็จพระสังฆราช” ประทานพระคติธรรม เนื่องใน “วันมาฆบูชา 2566”
ทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม แม่กองงานพระธรรมทูต
พระประวัติ
สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นบุตรคนโตในจำนวน บุตรธิดา 9 คน ของ นายนับ กับ นางตาล ประสัตถพงศ์ ประสูติที่บ้านตำบลบางป่า อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2470
ทรงศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนเทวานุเคราะห์ กองบินที่ 4 ตำบลโคกกระเทียม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี จนทรงจบประถมศึกษาปีที่ 1 และทรงศึกษาต่อ ณ โรงเรียนประชาบาลวัดพเนินพลู ตำบลบางป่า อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรีจนทรงสำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่อ พ.ศ.2480
การบรรพชาอุปสมบท
เมื่อมีพระชนมายุ 13 พรรษา จึงได้ทรงบรรพชา ณ วัดสัตตนารถปริวัตร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เมื่อทรงเป็นสามเณร ได้เสด็จไปทรงเล่าเรียนพระปริยัติธรรมใน สำนักของพระอธิการโสตถิ์ สุมิตฺโต ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ที่พระศรีธรรมานุศาสน์ เจ้าคณะอำเภอเมืองบางแพ (ธรรมยุต) ณ วัดตรีญาติ ตำบลพงสวาย อำเภอเมือง ราชบุรี จังหวัดราชบุรี ทรงสอบนักธรรมและบาลี ประโยคต่างๆ ในสำนักเรียนวัดตรีญาติ ได้นักธรรม ชั้นเอก และเปรียบธรรม 4 ประโยค
เมื่อ พ.ศ.2490 ได้ทรงพบกับพระจินดากรมุนี (ทองเจือ จินฺตากโร) ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทาน สถาปนาชั้นเป็น สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี ชักชวนให้ทรงเข้ามาพำนักเพื่อทรงศึกษาเล่าเรียน พระปริยัติธรรม ในสำนักเรียนวัดราชบพิธ สถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร
ครั้นวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2491 ได้ทรงอุปสมบทเป็น พระภิกษุ ณ มหาพันธสีมาวัดราชบพิธสถิตมหา สีมาราม เขตพระนครกรุงเทพมหานคร ทรงได้รับพระสมณฉายาว่า “อมฺพโร” มีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ ขณะทรงสมณศักดิ์ ที่พระเทพโมลีเป็น พระอุปัชฌาย์ ได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลีในสำนักเรียนวัดราชบพิธ จนทรง สำเร็จเปรียญธรรม 6 ประโยค
หลังเป็นเปรียญ 5 ประโยค พระองค์ได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นนักศึกษารุ่นที่ 5 จบศาสนศาสตรบัณฑิต เมื่อปี พ.ศ. 2500 และทรงเดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี (Banaras Hindu University) ประเทศอินเดีย จบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ปี พ.ศ. 2552 สภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ถวายศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์ ปี พ.ศ. 2553 สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ
สมเด็จพระสังฆราช พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
โดยพระนามเต็มของ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ คือ
“สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สุขุมธรรมวิธานธำรง สกลมหาสงฆปริณายก ตรีปิฎกธราจารย อัมพราภิธานสังฆวิสุต ปาพจนุตตมสาสนโสภณ กิตตินิรมลคุรุฐานียบัณฑิต วชิราลงกรณนริศรปสันนาภิสิตประกาศ วิสารทนาถธรรมทูตาภิวุฒ ทศมินทรสมมุติปฐมสกลคณาธิเบศร ปวิธเนตโยภาสวาสนวงศวิวัฒ พุทธบริษัทคารวสถาน วิบูลสีลสมาจารวัตรวิปัสสนสุนทร ชินวรมหามุนีวงศานุศิษฏ บวรธรรมบพิตร สมเด็จพระสังฆราช”
ในหนังสือพระประวัติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ระบุความหมายไว้ว่า
“สมเด็จพระผู้มีญาณสืบมาแต่วงศ์พระอริยเจ้า ทรงเป็นผู้มีธรรมวิธีอันละเอียดอ่อน ทรงเป็นผู้นำพระสงฆ์หมู่ใหญ่ทั้งปวง ทรงเป็นอาจารย์ผู้ทรงไว้ซึ่งพระปริยัติธรรม คือ พระไตรปิฎก ปรากฏพระนามฉายาในทางสงฆ์ว่า อมฺพโร ทรงงดงามในพระศาสนาด้วยทรงพระปรีชากว้างขวางในพระอุดมปาพจน์ คือพระธรรมวินัย ทรงดำรงพระเกียรติโดยปราศจากมลทิน และทรงเป็นครู สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาด้วยเหตุที่ทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใส ทรงเป็นที่พึ่งผู้แกล้วกล้าและมีพระปรีชาฉลาดเฉลียว ทรงเป็นผู้ยังความเจริญแก่กิจการพระธรรมทูต ทรงเป็นใหญ่ในสงฆ์ทั้งปวง (คือทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช) พระองค์แรกที่ได้รับพระราชทานสถาปนาในรัชกาลที่ 10 ทรงยังแสงสว่างแห่งแบบอย่างอันดีงามให้บังเกิด โดยเจริญรอยตามสมเด็จพระอุปัชฌาย์ คือ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถร) ทรงเป็นที่ตั้งแห่งความเคารพของพุทธบริษัท ทรงงดงามในพระวิปัสสนาธุระ ทรงพระศีลาจารวัตรอันไพบูลย์ ทรงเป็นอนุศิษย์ผู้สืบวงศ์สมณะมาแต่พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นเจ้าผู้เจริญในทางธรรม ทรงเป็นราชาแห่งหมู่สงฆ์”
ทั้งนี้เครื่องยศสมณศักดิ์ของสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ประกอบด้วย พระตราตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช, พัดยศ, ไตรแพร, บาตรพร้อมด้วยฝาและเชิงบาตรถมปัด, พานพระศรี (มังสี 2 ตลับพู่ 1 จอก 1 ซองพลู 1 พร้อมพลู), ขันน้ำพานรองมีจอก, ถาดสรงพระพักตร์, ขันน้ำพานรองมีจอก คลุมตาดรูปฝาชี, หีบตราจักรี (หีบหลังเจียด), หีบพระโอสถหลังนูน, คนโท, กาทรงกระบอก, หม้อลักจั่น, ปิ่นโตกลม 4 ชั้น, สุพรรณราช และ สุพรรณศรี
พระกรณียกิจ
ด้านการปกครอง
- พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2550 เจ้าคณะภาค 14-15 (ธรรมยุต)
- พ.ศ. 2539 – ปัจจุบัน กรรมการมหาเถรสมาคมคณะธรรมยุต
- พ.ศ. 2550 – ปัจจุบัน ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 14-15 (ธรรมยุต)
- พ.ศ. 2551 – ปัจจุบัน เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
- พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
- พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
- พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
ด้านการศึกษา
- พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน นายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พระกรณียกิจด้านการเผยแพร่
- พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน แม่กองงานพระธรรมทูต
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานพระพุทธศาสนา และ ธรรมะไทยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
เข้าพรรษา2566 คัดมาแล้ว 36 คติธรรม! ธรรมะของคนทำงาน
วิสาขบูชา 2566 : เปิดวิธีดับทุกข์ด้วย “อริยสัจ 4” บอกลาทุกปัญหาของชีวิต