รายงานข่าวจากกรมทางหลวง(ทล.)แจ้งว่า สำนักก่อสร้างทางที่ 2 ดำเนินการโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 224 สาย บ.โคกกรวด-บ.หนองสนวน ช่วง กม.66+331-กม.80+000 และ กม.92+555-กม.102+000 พื้นที่ อ.ครบุรี และ อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา ระยะทาง 23.114 กิโลเมตร(กม.)ค่าก่อสร้าง 778,877,890บาท จากงบประมาณโครงการที่ได้รับจำนวน 980,000,000บาท ช่วยประหยัดงบประมาณได้ 201,122,110บาท
ปัจจุบันผู้รับจ้างเข้าพื้นที่ดำเนินการสำรวจแนวเส้นทาง ระบบสาธารณูปโภค เช่น สายไฟ ไฟฟ้า และประปา รวมทั้งเตรียมจัดทำแผนบริหารจัดการระบบจราจรช่วงระหว่างก่อสร้าง เพื่อเสนอและประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ท้องถิ่น ตำรวจในพื้นที่และประชาชนได้ทราบ เพื่อลดผลกระทบช่วงระหว่างก่อสร้างต่อไป
โครงการนี้เริ่มต้นสัญญาวันที่ 5 ก.ย. 66 สิ้นสุดสัญญา 19 ส.ค.69 ระยะเวลา 1,080 วัน โดยมีห้างหุ้นส่วนจำกัด โชคชัยการโยธา เป็นผู้รับจ้าง แบ่งดำเนินการเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 กม.66+331-กม.80+000 ระยะทาง 13.669 กม. และ ช่วงที่ 2 กม.92+555-กม.102+000 ระยะทาง 9.445 กม. โดยทำการก่อสร้างขยายถนนจากเดิม 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร ทิศทางละ 2 ช่องจราจร มีไหล่ทาง เกาะกลางถนน จุดกลับรถ ศาลาทางหลวง ปรับปรุงจุดตัดทางเชื่อม ระบบระบายน้ำ ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย และติดตั้งไฟส่องสว่างคำพูดจาก ทดลองเล่นสล็อตทุกค่ายไม่ต้องสมัคร
โดยก่อนเริ่มก่อสร้าง แขวงทางหลวงนครราชสีมาที่ 3 จัดประชุมเพื่อรับฟังการชี้แจงโครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224 สายบ้านโคกกรวด-บ้านหนองสนวน ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเสิงสาง ต.เสิงสาง อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 18 ก.ย. ที่ผ่านมา เพื่อนำเสนอข้อมูลรายละเอียดโครงการ ผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ และแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลที่ถูกต้องและมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น นำข้อมูลไปใช้ดำเนินการโครงการ เพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างน้อยที่สุดในระหว่างก่อสร้าง ซึ่งผลประชุมประชาชนเห็นด้วยกับโครงการ เพราะทำให้การเดินทางสะดวก ปลอดภัย ส่งเสริมการขนส่งสินค้าเกษตรในพื้นที่ และแหล่งท่องเที่ยวตามแนวเส้นทาง
ทล.224 เป็นเส้นทางโครงข่ายหลักในการเดินทางเชื่อมโยงศูนย์กลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน)จากตัวเมืองนครราชสีมาไปสู่ประตูการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ตามแนวชายแดนของพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างสู่ด่านช่องจอม จ.สุรินทร์ และ ต.บ้านสายตะกู จ.บุรีรัมย์ รวมทั้งเชื่อมต่อไปยัง ทล.348 สู่ด่านอรัญประเทศ จ.สระแก้ว ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลักในการคมนาคมขนส่งสินค้าระหว่างภาคตะวันออกกับภาคอีสานตอนล่าง
ปัจจุบันมีปริมาณการจราจรหนาแน่นอย่างมากประมาณ 17,000-18,000 คันต่อวัน โดยในจำนวนนี้มีรถบรรทุกประมาณ 5,000 คันต่อวัน หรือคิดเป็น 33% โดยเฉพาะช่วง อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา กับ อ.ปะคำ จ.บุรีรัมย์ จึงจำเป็นต้องก่อสร้างสร้างจาก 2 ช่องจราจรเป็น 4 ช่องจราจร เพิ่มความคล่องตัว เพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย รองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นในอนาคต และสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศ